เปลี่ยนการแสดงผล
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซด์
วันนี้
11311
เดือนนี้
44913
เมื่อวาน
13161
เดือนที่แล้ว
261327
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร เข้าร่วมการประชุมนานาชาติด้านการเพิ่มปริมาณน้ำฝน ครั้งที่ 7 ณ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
30 มกราคม 2568 147 ครั้ง
นายราเชน ศิลปะรายะ รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ด้านปฏิบัติการ มอบหมายให้นายสราวุธ อาทยะกุล นายพุทธินันท์ สุกุมลจันทร์ และนางสาวจตุรภรณ์ ลีนานนท์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ จากกองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวง และกองปฏิบัติการฝนหลวง เป็นผู้แทนจากกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เข้าร่วมการประชุมนานาชาติด้านการเพิ่มปริมาณน้ำฝน ครั้งที่ 7 (The 7th International Rain Enchancement Forum: IREF) ระหว่างวันที่ 28 – 30 มกราคม 2568 ณ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อันเป็นเวทีเปิดตัวกิจกรรมพิเศษเพื่อเชิดชูบุคคลและสถาบันทั้งในและต่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโครงการตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา โดยเวทีการประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วยการอภิปรายเชิงลึกเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และการปฏิบัติงานด้านการเพิ่มปริมาณน้ำฝนทั้งในระดับประเทศและระดับโลกแก่ผู้กำหนดนโยบาย นักลงทุน และนักวิจัย
.
นอกจากนี้ ผู้แทนจากกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ร่วมจัดทำผลงานทางวิชาการด้านการดัดแปรสภาพอากาศและเทคโนโลยีฝนหลวง เพื่อนำเสนอภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation) ในการประชุมดังกล่าวประกอบหัวข้อความสามารถในการรับมือกับสภาพอากาศ กรณีความพยายามในการปราบพายุลูกเห็บในประเทศไทย (Climate Resilience: Hail Suppression Efforts in Thailand) การประยุกต์ใช้ข้อมูลความละเอียดสูงและปัญญาประดิษฐ์เพื่อเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติการฝนหลวงในประเทศไทย (Leveraging High-Resolution Data and AI to Optimize Cloud Seeding Operations in Thailand) และแนวทางการปฏิบัติการฝนหลวงในประเทศไทยโดยใช้แนวทางธรรมชาติ (Natural-based Solution for Cloud Seeding in Thailand)
.
โอกาสนี้ ผู้แทนจากกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ยังได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างนักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้กำหนดนโยบายจากทั่วโลก เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการพัฒนาเทคโนโลยีและวิธีการใหม่ ๆ ในด้านการเพิ่มปริมาณฝน เช่น เทคนิคการกระตุ้นปฏิกิริยาการเกิดเม็ดน้ำแบบใหม่ วัสดุที่ใช้ในการกระตุ้นฝน และการใช้แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการพยากรณ์และวิเคราะห์สภาพอากาศ เป็นต้น ตลอดจนการให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของการดำเนินงานและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการลดผลกระทบจากการดัดแปรสภาพอากาศต่อระบบนิเวศ และการใช้พลังงานสะอาดในกระบวนการผลิตน้ำ
 
ภาพและวีดีโอ